วันจันทร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2558

ประวัติผู้จัดทำ

ชื่อ   นายอภิสิทธิ์     นามสกุล   ขอบขันคำ
รหัส 581128052
คณะครุศาสตร์    วิชาเอกชีววิทยา     Section AH
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
ประกอบวิชา เทคโนโลยีสารสนเทศ รหัสวิชา GEN1102

ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558

วันจันทร์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2558

แนะนำอาหารพื้นถิ่นในจังหวัดเชียงราย


ประชากร



จังหวัดเชียงรายมีประชากรหลายเชื้อชาติ ทั้งชาวไทยพื้นราบ ชาวไทยภูเขา และชาวจีนฮ่อที่อพยพเข้ามาอาศัยอยู่บนดอยสูง แต่ละชนชาติจะมีประเพณี วัฒนธรรม และวิถีชีวิตที่มีเอกลักษณ์ เป็นเสน่ห์ห์อีกอย่างที่ทำให้เชียงรายได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ

ประชากรในเขตจังหวัดเชียงราย แบ่งออกได้เป็นหลายกลุ่ม อาทิ

1.        คนไทยพื้นราบ
ประกอบด้วยชาวไทยวน ไทลื้อ ไทเขิน ไทใหญ่ ดังนี้
-                   ไทยวน หรือคนเมือง เป็นประชากรกลุ่มใหญ่ที่สุด
-                   ไทลื้อ,ไทเขิน,ไทใหญ่ เป็นกลุ่มชนที่มีถิ่นฐานเดิมอยู่ในที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง และทางตอนใต้ของจีน
2.        ชาวไทยภูเขา
ประกอบด้วย อาข่า มูเซอ เย้า กะเหรี่ยง ลีซอ ม้ง
3.        ผู้พลัดถิ่นสัญชาติพม่า
-  บุลคลหลายสัญชาติที่อพยพมาจากพม่าเข้าอยู่ในประเทศไทยก่อนวันที่ 9 มีนาคม 2519 การออกนอกเขตจังหวัดที่อยู่อาศัยต้องขออนุญาตจากปลัดกระทรวงมหาดไทย

4.        ชาวลาวอพยพ
-                   คนลาวที่อาศัยอยู่กับญาติพี่น้องตามแนวชายแดนของประเทศไทย เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองของลาวในปี พ.ศ. 2517 ขณะนี้ทางการของไทยยังไม่อนุญาตให้เดินทางออกนอกเขตจังหวัดที่อยู่อาศัย
5.        ชาวจีน
-                   ชนกลุ่มน้อยซึ่งสืบเชื้อสายจีน ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วเป็นอดีตทหารพรรคก๊กมินตั๋ง ได้มาตั้งรกรากในพื้นที่ ที่มีความโดดเด่นได้แก่ หมู่บ้านสันติคีรี



ที่มาของข้อมูล : http://irobot917.tripod.com/chiangrai.htm

ภูมิอากาศ



จังหวัดเชียงรายมีอุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีประมาณ 24 องศาเซลเซียส ฤดูร้อน เริ่มจากกลางเดือน(กุมภาพันธ์-กลางเดือนพฤษภาคม) มีอุณหภูมิเฉลียประมาณ 32 องศาเซลเซียส ฤดูฝน เริ่มจากกลางเดือน(พฤษภาคม-กลางเดือนตุลาคม) มีอุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 27 องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยปีละ 1,768 มิลลิเมตร มากที่สุดในปี 2544 จำนวน 2,287.60 มิลลิเมตรน้อยที่สุดในปี 2546 จำนวน 1,404.10 มิลลิเมตร จำนวนวันที่มีฝนตกเฉลี่ย 143 วันต่อปี ฤดูหนาว (พฤศจิกายน – กุมภาพันธ์) จังหวัดเชียงรายมีอุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 15.0 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 0.9 - 1.0 องศาเซลเซียส 2542 สภาพอากาศของจังหวัดเชียงราย ถือว่าหนาวจัดในพื้นที่ราบ อุณหภูมิจะอยู่ที่ 7-9 องศาเซลเซียส ส่วนบนยอดดอย อุณหภูมิต่ำสุดจะอยู่ที่ 0-5 องศาเซลเซียส อุณหภูมิ -1.5 องศาที่ภูชี้ฟ้า ปลายปี 2556 จึงทำให้อากาศที่เชียงรายในช่วงฤดูหนาว เป็นพื้นที่ๆ นักท่องเที่ยวอยากมาเป็นอย่างยิ่ง

วันจันทร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2558

วีดีโอแนะนำจังหวัดเชียงราย


ที่มา :https://www.youtube.com/watch?v=x1WuPqhlC4Q

เศรษฐกิจของจังหวัดเชียงราย


จังหวัดเชียงรายมีสภาพอากาศเป็นป่าเขา ตั้งอยู่เหนือสุดของประเทศไทยแนวชายแดนติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน จังหวัดเชียงรายมีผู้คนหลากหลายเผ่าพันธุ์เข้ามาอาศัยและตั้งถิ่นฐาน เป็นจำนวนมาก ทั้งชาวไทยภูเขา และคนไทยพื้นราบ และชาวจีนฮ่อ ที่เข้ามาอพยพอาศัยอยู่ตามบนดอยสูงหลายๆแห่ง ตามอำเภอต่างๆ ของจังหวัดเชียงราย และส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพเกษตร เลี้ยงสัตว์ เป็นหลัก
ปัจจุบันจังหวัดเชียงรายเป็นเมืองศูนย์กลางเศรษฐกิจการค้าและการท่องเที่ยว จังหวัดเชียงรายได้ มีการปรับปรุงเส้นทางคมนาคมจากเชียงรายสู่ประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งทางบก ทางเรือ และทางอากาศ
ปัจจุบันจังหวัดเชียงรายมีชื่อเสียงทั้งทางด้านการท่องเที่ยวและเป็นศิลปวัฒนธรรมล้านนา เป็นอย่างมาก ทำให้นักท่องเที่ยวทั้งในประเทศ และต่างประเทศเดินทางมาจังหวัดเชียงรายเป็นจำนวนมากเพื่อมาชื่นชมและสัมผัส ศิลปะ อาหาร การเป็นอยู่ วิถีชีวิตที่เรียบง่าย ทำให้จังหวัดเชียงรายเป็นอีกจังหวัดหนึ่งของประเทศไทยที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เที่ยวภาคเหนืออีกจังหวัดหนึ่ง
เศรษฐกิจของจังหวัดเชียงราย ปี 2542 ขยายตัวจากการเพิ่มขึ้นของภาคการผลิต ทั้งภาคเกษตร และนอกภาคเกษตร ผลผลิตพืชเศรษฐกิจสำคัญ ได้แก่ ข้าว ลิ้นจี่ ลำไย เพิ่มขึ้นจากปัจจัยด้านสภาพอากาศ และปริมาณน้ำฝนที่เอื้ออำนวย ส่วนการผลิตนอกภาคเกษตรขยายตัวเกือบทุกสาขาการผลิต ภาคบริการ นักท่องเที่ยวลดลงเล็กน้อยจากภาวะความไม่สงบตามแนวชายแดนและการปิดด่านของพม่า ด้านการใช้จ่ายภาคเอกชน เครื่องชี้หลายชนิดแสดงทิศทางปรับตัวดีขึ้น ส่วนทางด้านฐานะการคลังมีการเร่งการใช้จ่ายภาครัฐมากขึ้น โดยมีการขาดดุลเงินในงบประมาณมากขึ้น ขณะที่ดุลเงินสดเกินดุลเพิ่มขึ้นจากปีก่อน การค้าชายแดนเพิ่มขึ้น จากการส่งออกไปจีน(ตอนใต้) เป็นสำคัญ มีเพียงสาขาการลงทุนเท่านั้นที่ยังไม่ฟื้นตัวแต่ก็มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น สำหรับภาคการเงิน เงินฝากและสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง

ภาคเกษตร พืชเศรษฐกิจสำคัญของจังหวัดมีผลผลิตเพิ่มขึ้นจากภาวะอากาศเอื้ออำนวย และ ฝนที่ตกมากอย่างต่อเนื่อง ผลผลิต ข้าวนาปี เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4 เป็น 408,921 เมตริกตัน จากการขยายพื้นที่การเพาะปลูก โดยพื้นที่ปลูกเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 ลิ้นจี่ ผลผลิตเพิ่มขึ้นกว่า 7 เท่าตัว เป็น 16,168 เมตริกตัน จากสภาพอากาศที่หนาวเย็นเพียงพอทำให้ติดผลเพิ่มขึ้นมากหลังจากลดลงเป็นประวัติการณ์เมื่อปีก่อนเช่นเดียวกับ ลำไย ผลผลิตเพิ่มขึ้นจากปีก่อนถึง 6 เท่าตัว เป็น 11,116เมตริกตัน กระเทียม ผลผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.3 เป็น 10,249 เมตริกตัน ตามการเพิ่มขึ้นของพื้นที่เพาะปลูกและผลผลิตต่อไร่ หอมแดงและถั่วเหลือง ผลผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.4 และร้อยละ 4.2 เป็น3,823 เมตริกตัน และ 6,157 เมตริกตัน ตามลำดับ ขณะที่ขิงและข้าวโพด เลี้ยงสัตว์ ผลผลิตลดลงร้อยละ 45.9 และร้อยละ 1.4 เหลือ 40,197 เมตริกตัน และ 186,467 เมตริกตัน ตามลำดับ เนื่องจากราคาปีก่อนไม่จูงใจทำให้เกษตรกรลดพื้นที่เพาะปลูก

            พืชเศรษฐกิจของจังหวัดเชียงราย
 
                                     ลิ้นจี้
 
                                ลำไย

ถั่วเหลือง