วันจันทร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2558

ประวัติผู้จัดทำ

ชื่อ   นายอภิสิทธิ์     นามสกุล   ขอบขันคำ
รหัส 581128052
คณะครุศาสตร์    วิชาเอกชีววิทยา     Section AH
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
ประกอบวิชา เทคโนโลยีสารสนเทศ รหัสวิชา GEN1102

ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558

วันจันทร์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2558

แนะนำอาหารพื้นถิ่นในจังหวัดเชียงราย


ประชากร



จังหวัดเชียงรายมีประชากรหลายเชื้อชาติ ทั้งชาวไทยพื้นราบ ชาวไทยภูเขา และชาวจีนฮ่อที่อพยพเข้ามาอาศัยอยู่บนดอยสูง แต่ละชนชาติจะมีประเพณี วัฒนธรรม และวิถีชีวิตที่มีเอกลักษณ์ เป็นเสน่ห์ห์อีกอย่างที่ทำให้เชียงรายได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ

ประชากรในเขตจังหวัดเชียงราย แบ่งออกได้เป็นหลายกลุ่ม อาทิ

1.        คนไทยพื้นราบ
ประกอบด้วยชาวไทยวน ไทลื้อ ไทเขิน ไทใหญ่ ดังนี้
-                   ไทยวน หรือคนเมือง เป็นประชากรกลุ่มใหญ่ที่สุด
-                   ไทลื้อ,ไทเขิน,ไทใหญ่ เป็นกลุ่มชนที่มีถิ่นฐานเดิมอยู่ในที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง และทางตอนใต้ของจีน
2.        ชาวไทยภูเขา
ประกอบด้วย อาข่า มูเซอ เย้า กะเหรี่ยง ลีซอ ม้ง
3.        ผู้พลัดถิ่นสัญชาติพม่า
-  บุลคลหลายสัญชาติที่อพยพมาจากพม่าเข้าอยู่ในประเทศไทยก่อนวันที่ 9 มีนาคม 2519 การออกนอกเขตจังหวัดที่อยู่อาศัยต้องขออนุญาตจากปลัดกระทรวงมหาดไทย

4.        ชาวลาวอพยพ
-                   คนลาวที่อาศัยอยู่กับญาติพี่น้องตามแนวชายแดนของประเทศไทย เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองของลาวในปี พ.ศ. 2517 ขณะนี้ทางการของไทยยังไม่อนุญาตให้เดินทางออกนอกเขตจังหวัดที่อยู่อาศัย
5.        ชาวจีน
-                   ชนกลุ่มน้อยซึ่งสืบเชื้อสายจีน ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วเป็นอดีตทหารพรรคก๊กมินตั๋ง ได้มาตั้งรกรากในพื้นที่ ที่มีความโดดเด่นได้แก่ หมู่บ้านสันติคีรี



ที่มาของข้อมูล : http://irobot917.tripod.com/chiangrai.htm

ภูมิอากาศ



จังหวัดเชียงรายมีอุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีประมาณ 24 องศาเซลเซียส ฤดูร้อน เริ่มจากกลางเดือน(กุมภาพันธ์-กลางเดือนพฤษภาคม) มีอุณหภูมิเฉลียประมาณ 32 องศาเซลเซียส ฤดูฝน เริ่มจากกลางเดือน(พฤษภาคม-กลางเดือนตุลาคม) มีอุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 27 องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยปีละ 1,768 มิลลิเมตร มากที่สุดในปี 2544 จำนวน 2,287.60 มิลลิเมตรน้อยที่สุดในปี 2546 จำนวน 1,404.10 มิลลิเมตร จำนวนวันที่มีฝนตกเฉลี่ย 143 วันต่อปี ฤดูหนาว (พฤศจิกายน – กุมภาพันธ์) จังหวัดเชียงรายมีอุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 15.0 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 0.9 - 1.0 องศาเซลเซียส 2542 สภาพอากาศของจังหวัดเชียงราย ถือว่าหนาวจัดในพื้นที่ราบ อุณหภูมิจะอยู่ที่ 7-9 องศาเซลเซียส ส่วนบนยอดดอย อุณหภูมิต่ำสุดจะอยู่ที่ 0-5 องศาเซลเซียส อุณหภูมิ -1.5 องศาที่ภูชี้ฟ้า ปลายปี 2556 จึงทำให้อากาศที่เชียงรายในช่วงฤดูหนาว เป็นพื้นที่ๆ นักท่องเที่ยวอยากมาเป็นอย่างยิ่ง

วันจันทร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2558

วีดีโอแนะนำจังหวัดเชียงราย


ที่มา :https://www.youtube.com/watch?v=x1WuPqhlC4Q

เศรษฐกิจของจังหวัดเชียงราย


จังหวัดเชียงรายมีสภาพอากาศเป็นป่าเขา ตั้งอยู่เหนือสุดของประเทศไทยแนวชายแดนติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน จังหวัดเชียงรายมีผู้คนหลากหลายเผ่าพันธุ์เข้ามาอาศัยและตั้งถิ่นฐาน เป็นจำนวนมาก ทั้งชาวไทยภูเขา และคนไทยพื้นราบ และชาวจีนฮ่อ ที่เข้ามาอพยพอาศัยอยู่ตามบนดอยสูงหลายๆแห่ง ตามอำเภอต่างๆ ของจังหวัดเชียงราย และส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพเกษตร เลี้ยงสัตว์ เป็นหลัก
ปัจจุบันจังหวัดเชียงรายเป็นเมืองศูนย์กลางเศรษฐกิจการค้าและการท่องเที่ยว จังหวัดเชียงรายได้ มีการปรับปรุงเส้นทางคมนาคมจากเชียงรายสู่ประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งทางบก ทางเรือ และทางอากาศ
ปัจจุบันจังหวัดเชียงรายมีชื่อเสียงทั้งทางด้านการท่องเที่ยวและเป็นศิลปวัฒนธรรมล้านนา เป็นอย่างมาก ทำให้นักท่องเที่ยวทั้งในประเทศ และต่างประเทศเดินทางมาจังหวัดเชียงรายเป็นจำนวนมากเพื่อมาชื่นชมและสัมผัส ศิลปะ อาหาร การเป็นอยู่ วิถีชีวิตที่เรียบง่าย ทำให้จังหวัดเชียงรายเป็นอีกจังหวัดหนึ่งของประเทศไทยที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เที่ยวภาคเหนืออีกจังหวัดหนึ่ง
เศรษฐกิจของจังหวัดเชียงราย ปี 2542 ขยายตัวจากการเพิ่มขึ้นของภาคการผลิต ทั้งภาคเกษตร และนอกภาคเกษตร ผลผลิตพืชเศรษฐกิจสำคัญ ได้แก่ ข้าว ลิ้นจี่ ลำไย เพิ่มขึ้นจากปัจจัยด้านสภาพอากาศ และปริมาณน้ำฝนที่เอื้ออำนวย ส่วนการผลิตนอกภาคเกษตรขยายตัวเกือบทุกสาขาการผลิต ภาคบริการ นักท่องเที่ยวลดลงเล็กน้อยจากภาวะความไม่สงบตามแนวชายแดนและการปิดด่านของพม่า ด้านการใช้จ่ายภาคเอกชน เครื่องชี้หลายชนิดแสดงทิศทางปรับตัวดีขึ้น ส่วนทางด้านฐานะการคลังมีการเร่งการใช้จ่ายภาครัฐมากขึ้น โดยมีการขาดดุลเงินในงบประมาณมากขึ้น ขณะที่ดุลเงินสดเกินดุลเพิ่มขึ้นจากปีก่อน การค้าชายแดนเพิ่มขึ้น จากการส่งออกไปจีน(ตอนใต้) เป็นสำคัญ มีเพียงสาขาการลงทุนเท่านั้นที่ยังไม่ฟื้นตัวแต่ก็มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น สำหรับภาคการเงิน เงินฝากและสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง

ภาคเกษตร พืชเศรษฐกิจสำคัญของจังหวัดมีผลผลิตเพิ่มขึ้นจากภาวะอากาศเอื้ออำนวย และ ฝนที่ตกมากอย่างต่อเนื่อง ผลผลิต ข้าวนาปี เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4 เป็น 408,921 เมตริกตัน จากการขยายพื้นที่การเพาะปลูก โดยพื้นที่ปลูกเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 ลิ้นจี่ ผลผลิตเพิ่มขึ้นกว่า 7 เท่าตัว เป็น 16,168 เมตริกตัน จากสภาพอากาศที่หนาวเย็นเพียงพอทำให้ติดผลเพิ่มขึ้นมากหลังจากลดลงเป็นประวัติการณ์เมื่อปีก่อนเช่นเดียวกับ ลำไย ผลผลิตเพิ่มขึ้นจากปีก่อนถึง 6 เท่าตัว เป็น 11,116เมตริกตัน กระเทียม ผลผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.3 เป็น 10,249 เมตริกตัน ตามการเพิ่มขึ้นของพื้นที่เพาะปลูกและผลผลิตต่อไร่ หอมแดงและถั่วเหลือง ผลผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.4 และร้อยละ 4.2 เป็น3,823 เมตริกตัน และ 6,157 เมตริกตัน ตามลำดับ ขณะที่ขิงและข้าวโพด เลี้ยงสัตว์ ผลผลิตลดลงร้อยละ 45.9 และร้อยละ 1.4 เหลือ 40,197 เมตริกตัน และ 186,467 เมตริกตัน ตามลำดับ เนื่องจากราคาปีก่อนไม่จูงใจทำให้เกษตรกรลดพื้นที่เพาะปลูก

            พืชเศรษฐกิจของจังหวัดเชียงราย
 
                                     ลิ้นจี้
 
                                ลำไย

ถั่วเหลือง

อาหารพื้นเมืองของจังหวัดเชียงราย


แกงฮังเล 





                  แกงฮังเล บางแห่งก็เรียกว่า แกงฮินเล หรือ แกงฮันเล มีอยู่ ๒ ชนิด คือ แกงฮังเลม่าน และ แกงฮังเลเชียงแสน เชื่อกันว่าแกงฮังเลเป็นอาหารที่ได้รับอิทธิพลมาจากพม่าในสมัยอดีต จากการศึกษาของอุบลรัตน์ พันธุมินทร์ จากแหล่งข้อมูลพุกาม พบว่าแกงที่ชาวพม่าเรียกว่า “ ฮินแล หรือ “ ฮังแล ” นั้นเป็นแกงอย่างเดียวกับที่ชาวล้านนาเรียกว่า “ แกงโฮะ ” ส่วนแกงอย่างที่ชาวล้านนาเรียก “ ฮินแล ” หรือ “ ฮังแล ” นั้น
ชาวพม่าเรียก “ แวะตาฮีน ” ซึ่งแปลว่าแกงหมู 


แกงโฮ๊ะ 


                 แกงโฮ๊ะ  คำว่า โฮ๊ะ แปลว่า รวม แกงโฮ๊ะ ก็คือการนำเอาอาหารหลายๆอย่างมารวมกัน หรือเวลาที่อาหารเหลือจากการรับประทานคนเหนือก็จะนำมาแกงโฮ๊ะหรือคั่วโฮ๊ะนั่นเอง แกงโฮ๊ะจะมีรสชาติเผ็ดร้อน หอมเครื่องแกง รับประทานกับข้าวเหนียวหรือข้าวสวย ก็ได้ 

ข้าวซอย



               ข้าวซอย   คือ อาหารพื้นเมืองทางภาคเหนือของประเทศไทย เดิมเรียกว่า ก๋วยเตี๋ยวฮ่อ เป็น อาหารที่คล้ายเส้นบะหมี่ ในน้ำซุปที่ใส่เครื่องแกง รสจัดจ้าน ในตำรับดั้งเดิม ข้าวซอยจะมีส่วนประกอบของเนื้อหมูหรือเนื้อไก่หรือเนื้อวัว มีเครื่องเคียงได้แก่ ผักกาดดอง หอมหัวแดง และมีเครื่องปรุงรส 

ขนมจีนน้ำเงี้ยว   



                 ขนมจีนน้ำเงี้ยว   เป็นอาหารยอดนิยมของคนล้านนา มานาน ประกอบด้วยเส้นขนมจีน,เลือดหมูเนื้อหมูมะเขือเทศ เป็นหลัก มีทั้งสูตรเชียงราย (ใส่ดอกงิ้ว) สูตรเชียงใหม่ (ใส่เต้าเจี๊ยว) สูตรลำปาง (ใส่ถั่วเน่า) สูตรแพร่ (เป็นแบบน้ำใส) เป็นต้น

ที่มา : http://orachaporn2539.blogspot.com/2013/08/blog-post_484.html

ศิลปวัฒนธรรม และประเพณี



แห่พระแวดเวียง


                   ประเพณีอัญเชิญพระพุทธรูปแวดเวียงเชียงราย ซึ่งมีพื้นฐานความคิดมาจากตำนานพระเจ้าเลียบโลก ด้วยมีจุดมุ่งหมาย ให้ประชาชนได้มีโอกาสสักการบูชาพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง ซึ่งประดิษฐานอยู่ตามวัดวาอารามต่าง ๆ ในตัวเมืองเชียงราย เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ชีวิตในวาระของการส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ โดยการอัญเชิญพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองเชียงราย มาประดิษฐานบนบุษบกที่ได้สร้างขึ้นโดยช่างศิลปินที่มีชื่อเสียงของจังหวัดเชียงราย จัดตั้งเป็นขบวนอัญเชิญไปรอบเมืองเชียงราย ให้พุทธศาสนิกชนได้มีโอกาสกราบไหว้สักการบูชาด้วย ข้าวตอก ดอกไม้ เป็นการเริ่มต้นปีใหม่ที่เป็นสิริมงคลยิ่งนัก

ปอยหลวง


                  งานบุญปอยหลวงเป็นเอกลักษณ์ของชาวล้านนาซึ่งเป็นผลดีต่อสภาพทางสังคมหลายประการ นับตั้งแต่ชาวบ้านได้มาทำบุญร่วมกัน ร่วมกันจัดงานทำให้เกิดความสามัคคีในการทำงาน งานทำบุญปอยหลวงยังเป็นการรวมญาติพี่น้องที่อยู่ต่างถิ่นได้มีโอกาสทำบุญร่วมกัน และมีการสืบทอดประเพณีที่เคยปฏิบัติกันมาครั้งแต่บรรพชนไม่ให้สูญหายไปจากสังคม ช่วงเวลา จากเดือน 5 จนถึงเดือน 7 เหนือ (ตรงกับเดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนเมษายนหรือเดือนพฤษภาคมของทุกปี) ระยะเวลาประมาณ 3-7 วัน


ป๋าเวณี ปี๋ใหม่เมือง งานประเพณีสงกรานต์



                  จัดขึ้นประมาณกลางเดือนเมษายน ในงานมีขบวนแห่และสรงน้ำพระเจ้าล้านทอง การแข่งเรือ และการละเล่นพื้นเมืองและมหรสพ จัดบริเวณตัวเมืองเชียงราย และอำเภอเชียงแสน


งานเทศกาลลิ้นจี่และของดีเมืองเชียงราย





               เทศกาลที่ชาวเกษตรกรต่างนำผลผลิตทางการเกษตรของตนมาออกร้าน โดยเฉพาะลิ้นจี่ที่มีชื่อเสียงมากของเชียงราย จัดขึ้นประมาณกลางเดือนพฤษภาคมของทุกปี ภายในงานมีการประกวดขบวนรถและธิดาลิ้นจี่ และการออกร้าน บริเวณสนามกีฬากลางจังหวัดเชียงราย

งานไหว้สาพญามังราย




                       จัดให้มีพิธีบวงสรวงพญามังราย มีการออกร้าน จัดนิทรรศการของส่วนราชการและเอกชน และงานรื่นเริงอื่น ๆ จัดวันที่ 23 มกราคม-1 กุมภาพันธ์

เป็งปุ๊ด





              เป็งปุ๊ดหรือ เพ็ญพุธเป็นประเพณีตักบาตรเที่ยงคืนค่อนรุ่งเข้าสู่วันเพ็ญขึ้น15 ค่ำที่ตรงกับวันพุธ ตามวัฒนธรรมและความเชื่อของบรรพบุรุษล้านนาไทย ที่เชื่อกันว่าพระอุปคุตซึ่งพระอรหันต์องค์หนึ่งแปลงกันยายนป็นสามเณรน้อยมาบิณฑบาตโปรดสัตว์โลกในยามเที่ยงคืน และชาวล้านนาในอดีตเชื่อว่าการทำบุญตักบาตรถวายพระอุปคุตในวันเป็งปุ๊ดก็จะได้ชื่อว่าเป็นผู้มีบุญ มีโชคลาภและร่ำรวย บังเกิดความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต โดยบรรพบุรุษชาวล้านนาเชื่อว่า ทุกคืนที่ย่างเข้าสู่วันพุธขึ้น 15 ค่ำ เป็นวันเป็งปุ๊ด และจะมีประชาชนชาวล้านนาจำนวนมากมารอเพื่อประกอบพิธีทำบุญตักบาตรพระภิกษุสามเณร


ที่มา : https://www.blogger.com/blogger.g?blogID=2378604067263941168#editor/target=post;postID=592022892219381759

10 ที่เที่ยวจังหวัดเชียงรายโดนใจสุดๆ




1.วัดร่องขุ่น เป็นวัดที่สร้างและออกแบบโดยอาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ศิลปินที่มีชื่อเสียงของประเทศไทย สร้างขึ้นด้วยความศรัทธาและแรงมุ่งมั่น ที่จะรังสรรค์งานศิลปะที่งดงามและอ่อนช้อยผสมผสานระหว่างพระพุทธศาสนากับวัฒนธรรมล้านนาอย่างกลมกลืน ลักษณะเด่นของวัดก็คือ การตกแต่งพระอุโบสถด้วยลวดลายปูนปั้นสีขาวและความแวววาวของกระจกสีเงิน ตามเจตนารมณ์ของอาจารย์ที่อยากให้วัดนี้เหมือนเมืองสวรรค์ เป็นวิมานบนดินที่มนุษย์โลกสามารถสัมผัสได้ ภายในโบสถ์ยังมีภาพจิตกรรมฝาผนังฝีมือของอาจารย์เอง ที่ออกจะดูสวยแปลกตาและร่วมสมัยมาก สามารถเที่ยวชมได้ตลอดทั้งปี เปิดให้เข้าชมเวลา 06.30 น.-18.00 น. กรุณาแต่งกายให้สุภาพ สถานที่ตั้ง : อยู่ก่อนถึงตัวเมืองเชียงราย 13 กม. ตรงหลักกิโลเมตรที่ 816 ถนนพหลโยธิน โทร.0-5367-3579



2.พระธาตุดอยตุง เป็นปูชนียสถานที่สำคัญที่สุดของจังหวัดเชียงราย ประดิษฐานอยู่บนยอดดอยตุง ตั้งอยู่ในวัดพระธาตุดอยตุง เป็นที่บรรจุพระรากขวัญเบื้องซ้าย (กระดูกไหปลาร้า) ของพระพุทธเจ้า ครั้นเมื่อ 1,000 กว่าปีมาแล้ว ได้มีการอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุนี้มาจากแดนไกล โดยได้ทำธงตะขาบ (ภาษาพื้นเมืองเรียกว่า ตุง) เพื่อบูพระมหาธาตุยาวถึงพันวา ปักไว้บนยอดดอย ถ้าหากปลายธงปลิวไปไกลถึงเมืองไหน ก็จะกำหนดจุดนั้นเป็นฐานพระสถูป เหตุนี้ดอยที่ประดิษฐานพระมหาธาตุจึงมีชื่อเรียกว่า "ดอยตุง" องค์พระบรมธาตุเจดีย์ มีอยู่ด้วยกัน 2 องค์ องค์แรกบรรจุพระบรมธาตุส่วนไหปลาร้า และอีกองค์บรรจุพระธาตุย่อย พระธาตุดอยตุงแห่งนี้ยังถือเป็นพระธาตุประจำปีเกิดของคนปีกุน ที่นิยมมาสักการะเพื่อความเป็นสิริมงคลอีกด้วย และเมื่อถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 จะมีพุทธศาสนิกชนทั้งชาวไทยและเพื่อนบ้านใกล้เคียง เดินทางขึ้นมาร่วมงานกราบนมัสการองค์พระธาตุเป็นประจำทุกปี สถานที่ตั้ง : วัดพระธาตุดอยตุง อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย โทร. 0-5376-7015-7



3.ภูชี้ฟ้า เป็นหน้าผาหินที่มีลักษณะโดดเด่น คือ คล้ายนิ้วชี้ที่ชี้ตรงออกไปยังทิศตะวันออก อยู่ที่ระดับความสูงประมาณ 1,628 เมตร จากระดับน้ำทะเล หน้าผาหินเป็นทางลาดชัน ปกคลุมด้วยหญ้า ไม้พุ่ม และโขดหิน ไม่มีไม้ใหญ่ขึ้นเลย สามารถเดินลัดเลาะไปจนถึงสุดปลายของหน้าผาที่ยื่นออกไปได้ ในช่วงเช้าตรู่หุบเขาเบื้องล่างจะปกคลุมด้วยสายหมอก ทิวทัศน์จะยิ่งงดงามเมื่อดวงอาทิตย์ขึ้น ซึ่งภูชี้ฟ้าเป็นจุดชมพระอาทิตย์ขึ้นที่ได้รับความนิยมมาก



4. หอนาฬิกาเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ครบรอบ 72 พรรษา ที่ออกแบบโดยอาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ซึ่งถือว่าเป็นแหล่งท่องเที่ยวใหม่ใจกลางเมืองเลยก็ว่าได้ ตัวหอเป็นสีทองอร่ามสวยงามตามแบบฉบับของอาจารย์ฯ และเมื่อถึงเวลา 19.00 น., 20.00 น. และ 21.00 น. ของแต่ละวัน จะจัดให้มีการแสดงแสง สี เสียง จากตัวหอฯ


5.ดอยแม่สลอง หากพูดถึงดอยแม่สลอง หลายคนอาจนึกถึงที่สูงๆ อากาศหนาวเย็น แต่สำหรับคอชาแน่นอนว่ายอดดอยแห่งนี้คงเป็นหนึ่งในสถานชวนฝัน ที่คุณหวังว่าสักครั้งต้องขึ้นไปเหยียบ เพราะความเลื่องชื่อว่ามีชาดี แถมบรรยากาศยังเป็นเลิศ


6.วัดพระธาตุเจดีย์หลวง เป็นวัดที่เก่าแก่ในอำเภอเชียงแสน ซึ่งเป็นอำเภอเล็กๆ อยู่ห่างจากอำเภอเมืองประมาณ 60 กิโลเมตร ตั้งอยู่ติดกับพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติเชียงแสนด้านทิศตะวันออก สร้างโดยพระเจ้าแสนภู เมื่อประมาณกลางพุทธศตวรรษที่ 19 โบราณสถานประกอบด้วย เจดีย์ประธานทรงระฆังแบบล้านนา สูง 88 เมตร ฐานกว้าง 24 เมตร เป็นเจดีย์ใหญ่ที่สุดในเชียงแสน


7.พระตำหนักดอยตุง เรือนไม้ 2 ชั้นบนเนินต่างระดับ สถาปัตยกรรมผสมผสานระหว่างบ้านปีกไม้ ศิลปะล้านนากับชาเลต์แบบสวิส สามารถมองเห็นวิวทิวทัศน์เทือกเขาสลับซับซ้อนกัน กลางห้องเป็นที่ประดิษฐานของพระบรมฉายาลักษณ์ เพื่อให้ผู้มาเยือนได้สักการะ โดยจะมีเจ้าหน้าที่คอยแนะนำ เพดานห้องโถงเป็นเพดานดาว ซึ่งเป็นภาพระบบสุริยะและกลุ่มดวงดาว อยู่ในตำแหน่งเดียวกับที่เคยปรากฏ ณ วันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2443 วันพระราชสมภพ รอบพระตำหนักประดับด้วยไม้ดอกนานาพันธุ์


8.เชียงรายไนท์บาซ่าร์ ตั้งอยู่ถนนพหลโยธิน บริเวณสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดเชียงราย เป็นที่จำหน่ายของที่ระลึกฝีมือชาวเขาและชาวเชียงราย ทั้งเสื้อผ้า เครื่องประดับ กระเป๋าหลากแบบ ผลิตภัณฑ์พื้นเมือง ของตกแต่งบ้าน ฯลฯ ในราคาย่อมเยา นอกจากนี้ยังมีร้านอาหารไว้คอยบริการนักท่องเที่ยว พร้อมชมการแสดงจากศิลปินพื้นบ้าน เปิดบริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 18.30 น. - 23.00 น.



9.สิงห์ ปาร์ค เชียงราย ชอปปิ้งผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรจากบุญรอดฟาร์ม อาทิ ชาอู่หลง น้ำผลไม้ ผลไม้อบแห้งและผลิตภัณฑ์ผักสด ผลไม้ จากเกษตรกร อาทิ เมล่อน สตรอเบอรี่ พุทรา มัลเบอรี่ ฯลฯ

10.พระบรมธาตุเจดีย์ศรีนครินทรทราสถิตมหาสันติคีรี อีกสัญลักษณ์หนึ่งของดอยแม่สลอง เพื่อเป็นสิริมงคลในชีวิตพระบรมธาตุฯ แห่งนี้ สร้างแล้วเสร็จปี 2539 เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เป็นเจดีย์แบบล้านนาประยุกต์ที่สวยงามมาก ที่ตั้งของพระบรมธาตุฯ อยู่บนยอดดอยแม่สลอง สูงจากหมู่บ้านขึ้นไปราว 4 กม.


ที่มา : http://travel.sanook.com/1391027/

สังคมและวัฒนธรรม / เศรษฐกิจ

สังคมและวัฒนธรรม



                           จังหวัดเชียงรายมีทุนทางสังคมและวัฒนธรรมล้านนาอันเป็นอัตลักษณ์ที่โดด เด่น มีประเพณี ภาษาท้องถิ่น ศิลปกรรม โบราณสถานที่มีประวัติศาสตร์เก่าแก่ และความหลากหลายทางชาติพันธุ์ โดยเฉพาะชนเผ่าชาวเขากลุ่มต่าง ๆ ประชาชนมีภูมิปัญญาท้องถิ่น และอัธยาศัยไมตรีดี อ่อนโยน เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีความเชื่อในวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น รวมทั้งศาสนา มีวิถีชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
               ประชากรมีอัตราการเรียนต่อหลัง จบการศึกษาภาคบังคับอยู่ในระดับสูง มีสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่ได้มาตรฐานสากล ภาคประชาสังคมและประชาชนมีการรวมกลุ่ม และมีส่วนร่วมในกิจกรรมด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
                 จากการสำรวจด้วยภาพถ่ายทางอากาศ พบว่าเชียงรายมีแหล่งโบราณคดีมากถึง 200 แหล่ง แต่ในปัจจุบันแหล่งโบราณคดีบางแห่งก็ถูกบุกรุก ไถกลบเพื่อเป็นที่อยู่อาศัย เพื่อทำการเกษตรและแหล่งประกอบการอื่น ๆ
ในบรรดาแหล่งโบราณคดีทั้งหลายของเชียงราย เมืองโบราณที่ได้ชื่อว่าเป็นแหล่งกำเนิดอารยธรรมของล้านนาที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาในอดีต คือ เมืองโบราณเชียงแสน ซึ่งปัจจุบันกรมศิลปากรได้เข้าไปทำการศึกษาจัดทำแผนแม่บทเพื่อการอนุรักษ์และพัฒนาไปในแนวทางที่ถูกต้อง
                 นอกจากนี้เชียงรายยังมีแหล่งโบราณคดีขนาดใหญ่ที่ควรทำการศึกษาอีกมากมายหลายแหล่ง เช่น เวียงหนองหล่ม อำเภอเชียงแสน เวียงกาหลง อำเภอเวียงป่าเป้า และดงเวียงแก่น อำเภอเวียงแก่น

เศรษฐกิจ



             ภาคเศรษฐกิจที่สำคัญของเชียงราย คือ ภาคการเกษตร ซึ่งมีสัดส่วนในผลิตภัณฑ์มวลรวมของจังหวัดถึงร้อยละ 32 ส่วนภาคการค้าส่งและค้าปลีกมีสัดส่วนร้อยละ 17 และภาคอุตสาหกรรมมีสัดส่วนร้อยละ 12


ที่มาข้อมูล : http://122.155.9.68/identity/index.php/north/n-upper-2/chiangrai

ภาษา




ภาษา
ภาษาพูด ใช้พูดจากันเรียกว่า คำเมือง เนื่องจากเชียงรายเคยเป็นเมืองร้างผู้คนนานเกือบร้อยปี ได้มีการฟื้นฟูบ้านเมืองขึ้นมาใหม่เมื่อประมาณ ปี พ.ศ. 2384 โดยได้เกณฑ์ราษฎรจากเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง ตาก แพร่ น่าน อุตรดิตถ์ และชนเผ่าไตใหญ่ ไตลื้อ ไตยอง และไตขืน (เขิน) ซึ่งอพยพจากเชียงตุง และสิบสองปันนา รวมทั้งชาวลาวจากประเทศลาว ได้เข้ามาอาศัยอยู่รวมกัน ดังนั้นสำเนียงพูดของชาวเชียงรายจึงมีความหลากหลายทางสำเนียงในพื้นที่ต่างๆ

ภาษาเขียน เชียงรายก็เช่นเดียวกันกับจังหวัดทางภาคเหนืออื่น ๆ คือมีภาษาเขียนที่เรียกว่าอักขระล้านนา หรือตัวเมือง อักษรล้านนามีวิวัฒนาการมาจากอักษรพราหมีของอินเดีย มีการจัดระบบของหลักภาษาคล้ายกับภาษาบาลี อักษรล้านนามีรูปทรงกลมป้อมคล้ายอักษรพม่าและมอญ แต่หลักการทางภาษาไม่เหมือนกัน

ที่มาของข้อมูล : https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2#.E0.B8.9B.E0.B8.A3.E0.B8.B0.E0.B8.8A.E0.B8.B2.E0.B8.81.E0.B8.A3